นโยบายการบริหาร
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
30 พฤศจิกายน 542

0


1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงการพื้นฐาน

               เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ สะพาน ไฟฟ้า ประปา และระบบจราจรให้สะดวกและมีความปลอดภัย

แนวทางการพัฒนา

1.       ก่อสร้าง  ปรับปรุง  บำรุงรักษาถนน  สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ ร่องน้ำเดินเรือ  และท่าเทียบเรือ

2.       พัฒนาระบบจราจร

3.       ขยายเขตให้มีการจ่ายน้ำประปาอย่างทั่วถึงในเขตเทศบาล

4.       ขยายเขตไฟฟ้า ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ  และระบบเสียงตามสาย

2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ

               เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งให้ประชาชนได้รับการฝึกอบรมอาชีพ ส่งเสริมการท่องเที่ยว สงเคราะห์ผู้ยากไร้พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมการแข่งขันกีฬา การออกกำลังกาย  สนับสนุนวัสดุครุภัณฑ์ทางการศึกษา และป้องกันควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

แนวทางการพัฒนา  งานส่งเสริมอาชีพ
1.  การฝึกอบรมและส่งเสริมพัฒนาอาชีพเสริม

2.  ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว

3.  การพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร

4.  ก่อสร้าง ปรับปรุง ตลาดจำหน่ายสินค้าและร้านค้าชุมชน

แนวทางการพัฒนา  งานสวัสดิการสังคม

1.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ให้มีโอกาสดำรงชีวิตในสังคมที่ดีขึ้น

2.  การสงเคราะห์เด็ก  สตรี  คนชรา  และผู้ด้อยโอกาส

แนวทางการพัฒนา  งานนันทนาการ           

1.  การส่งเสริมการแข่งกีฬาทุกระดับ

2.  การพัฒนาปรับปรุงสนามกีฬา  ลานกีฬา

3.  การจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสถานที่ออกกำลังกายและกิจกรรมด้านนันทนาการ

แนวทางการพัฒนา  งานการศึกษา   

1.  การพัฒนาการศึกษาก่อนปฐมวัย

2.  ส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบ 12 ปี

3.  ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบ

4.  การพัฒนาแหล่งข้อมูลข่าวสารของประชาชน

แนวทางการพัฒนา  งานสาธารณสุข 

1.  การป้องกันควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

2.  การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า

3.  ส่งเสริมบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึง

3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

               เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่มุ่งการแก้ไขปัญหายาเสพติด และปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยเฉพาะด้านอาชญากรรม อุบัติเหตุ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย     

แนวทางการพัฒนา                                                                                             

1. การสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด                                                      

2. การสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน   

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภท  ให้อยู่ในสภาพที่ยั่งยืน  รณรงค์  ฝึกอบรมเด็ก  เยาวชน  และประชาชนทั่วไป  ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพัฒนา

1.  การส่งเสริมสนับสนุนพื้นที่สีเขียวในชุมชน

2.  การฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.  ส่งเสริมสนับสนุนป้องกัน บำบัด มลพิษสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ/น้ำเสีย/กลิ่นเหม็น

5.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

               เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในท้องถิ่นให้มีความรักและหวงแหนศิลปะ  วัฒนธรรม  จารีตประเพณี  ศาสนา  และภูมิปัญญาท้องถิ่น

แนวทางการพัฒนา

1.  การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

2.  การส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาในท้องถิ่นและการส่งเสริมการรักและปกป้องสถาบัน

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ

               เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ดี  มีความโปร่งใส  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  ตลอดจนพัฒนาระบบเทคโนโลยี  และทักษะความรู้ให้แก่บุคลากร  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

แนวทางการพัฒนา

1.       การพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรเพื่อการบริการเป็นเลิศ

2.       การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย     

3.       การปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน ให้พียงพอต่อการบริการประชาชน

นโยบายการบริหาร
30 พฤศจิกายน 542

0


1.  นโยบายด้านการเมืองและการบริหาร

          การพัฒนาการเมืองการบริหาร  เพื่อ ให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น ให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น ในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การเงิน การคลัง การบริหารงานบุคคล  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นของเทศบาล  ตลอดจนการเสริมสร้างจิตสำนึกของพนักงาน เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างในการบริการประชาชน ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและเกิดความพึงพอใจ ดังนี้

1.1     พัฒนาเทศบาลตำบลเกาะพะงันให้เป็นองค์กรธรรมาภิบาล ที่มีหลักการบริหารจัดการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  และเป็นหน่วยบริการสังคมที่ดี มีมาตรฐานด้วยการส่งเสริม สร้างความร่วมมือ ประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับแก่สมาชิกสภาท้องถิ่น  ข้าราชการ  พนักงานและลูกจ้าง  ซึ่ง เป็นทรัพยากรบุคคลอันสำคัญของเทศบาลตำบลเกาะพะงัน พร้อมทั้งสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณะที่ดีมีมาตรฐาน สร้างความสะดวก ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สร้างบุคลากรให้มีคุณภาพและมีจิตสำนึกในการให้บริการ    เพื่อรองรับการบริการแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

1.2    ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ที่ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆโดยชุมชนและเพื่อชุมชน รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน  เพื่อพัฒนายกระดับการขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางของเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน

1.3    ส่งเสริมสนับสนุนการประสานงานเพื่อก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการทำงาน ทั้งภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และพื้นที่อื่นๆ  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน

1.4    รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตามครรลองระบอบประชาธิปไตย  ตั้งแต่เริ่มกระบวนการ  ร่วมคิด  ร่วมตรวจสอบ โปร่งใสและปฏิบัติงานอย่างมีระบบ

2.  นโยบายด้านการพัฒนาสังคม

                     พัฒนาศักยภาพของประชาชนในเทศบาล  ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้

2.1 รณรงค์ส่งเสริมกระบวนการสร้างเสริมคุณธรรม  จริยธรรมการสร้างวินัย และจิตสาธารณะของคนในชุมชน

2.2  ส่งเสริม  สนับสนุน  อำนวยความสะดวกแก่การดำเนินงานด้านสวัสดิการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ   คนพิการและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งตนเองได้  รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือและได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

2.3  ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการกีฬาและลานกีฬาหมู่บ้านเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน  ให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  สนับสนุนให้มีการแข่งขันกีฬา เพื่อก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีและปลูกฝังค่านิยมที่ดีต่อการกีฬา

2.4 ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปจากพื้นที่  ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ  เอกชนที่เกี่ยวข้อง  ร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิดเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถาบันครอบครัว

2.5  ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่อยู่ดีมีสุข  มีความเป็นชุมชนน่าอยู่  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นทุกเวลา

3. นโยบายการพัฒนาการศึกษา  ศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม

                   การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการปฏิรูปการศึกษาเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้  อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้  ให้ประชาชนทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันจะที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิต   และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้  และนำพาท้องถิ่นให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม  โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ  สร้างคน  และสร้างงาน   ตลอดจนการส่งเสริม  สนับสนุนด้านการศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  ให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ดังนี้

3.1  สนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน  เน้นคุณภาพ  ประสิทธิภาพและความเที่ยงธรรมในการบริหารจัดการศึกษาทุกประเภท

3.2  ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาที่ทันสมัย  ทันโลกทันเหตุการณ์

3.3  สนับสนุน  ส่งเสริม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น  พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม  ศิลปวัตถุ  และโบราณสถาน  ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ของประชาชนในพื้นที่

4.  นโยบายพัฒนาสาธารณสุขและส่งเสริมคุณภาพชีวิต

               การสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านสุขภาพ   ตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติช่วยรณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนคุณพฤติกรรมทางด้านสุขภาพอนามัย  เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ  ดังนี้

4.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์  แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชน  โดยประชาชน  เพื่อประชาชน

4.2 ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน และการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน  ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม

4.3 สนับสนุนการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ  และโรคไม่ติดต่อ  ที่อันตรายต่อคนและสัตว์ โดยการสร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน  ควบคุมและดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ   เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

4.4 ส่งเสริม สนับสนุนงานสุขภาพอนามัย และการจัดการสุขภาวะภาคประชาชน โดยผ่ากลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

4.5 ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมที่สอดคล้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

                   5. นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

                             พัฒนา โครงสร้างและสภาพแวดล้อมของเทศบาลเพื่อส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจและการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน และเป็นการวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน  โดยมุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ ดังนี้ 

5.1 พัฒนาระบบการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาสาธารณูปโภคต่างๆ การขยายเขตไฟฟ้าและติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ ประชาชนมีไฟฟ้าในครัวเรือนใช้ตามความเหมาะสม

5.2 เสริมสร้างมาตรการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในชุมชน ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ โดยการก่อสร้างและปรับปรุงท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ รวมถึงระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังอย่างเป็นระบบ

5.3 ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับประชาชนได้อุปโภค  บริโภค โดยการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและจัดหาแหล่งน้ำใหม่ตามความเหมาะสม

6.นโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                 จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการดำรงชีวิตเพื่อ เอื้ออำนวยต่อความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา เพื่อยกระดับคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้

6.1 รณรงค์ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน และชุมชน

6.2 สนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนมุ่งรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน และสถานที่ต่างๆในเทศบาลให้เป็นเมืองน่าอยู่

6.3 ส่งเสริมสนับสนุนการเฝ้าระวัง และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและกำจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน

6.4 ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการจัดทำโครงการ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งไปสู่การลดสภาวะโลกร้อน

                  ดังนั้น การดำเนินงานในแต่ละภารกิจ แต่ละโครงการสามารถเดินหน้าให้เป็นไปตามนโยบายที่มีอยู่ทั้ง 6 ข้อนั้น จึงมีปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน ที่จะต้องเข้ามาช่วยกันเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง การแก้ไขปัญหาในเทศบาลตำบลเกาะพะงันและการดำเนินงานตามนโยบาย ที่กระผมได้แถลงต่อสภาฯ แห่งนี้ไปแล้วนั้น ก็จะบังเกิดผลได้ในทางปฏิบัติ หรือสัมฤทธิ์ผล ได้โดยไม่ลำบากนัก ทั้งนี้ก็ด้วยความรู้ ความเข้าใจในภารกิจ ทิศทางและเป้าหมายขององค์กรความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละ ระดับ ตั้งแต่ ระดับภายในองค์การบริหารส่วนตำบล อันได้แก่ สมาชิกสภาฯ ทุกท่าน ข้าราชการ พนักงาน และการหนุนเสริมจากองค์กรภายนอก และ ส่วนราชการต่างๆ ตลอดจน ชุมชน พี่น้องประชาชน เป็นต้น