Background



ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติเทศบาล
1 ตุลาคม 2566

0


เทศบาลตำบลเกาะพะงัน  ได้รับการยกฐานะมาจากสุขาภิบาลเกาะพะงันตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล  พ.ศ.๒๕๔๒  ตั้งแต่วันที่  ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๔๒  มีอาคาร      ที่ทำการสร้างตามแบบของเทศบาล   เมื่อวันที่  ๓๐  มิถุนายน ๒๕๔๘  ตั้งอยู่บนถนนสายท้องศาลา – โฉลกหลำ   ตำบลเกาะพะงัน   อำเภอเกาะพะงัน   จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 
 

 

ตราสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลเกาะพะงัน เป็นรูปวงกลมภายในมีปลาโลมา
เกลียวคลื่น ดาว 12 ดวง และช่อชัยพฤกษ์ ซึ่งมีความหมายดังนี้
ปลาโลมา  หมายถึง  ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทางทะเล
เกลียวคลื่น  หมายถึง  การพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

๑.สภาพทั่วไป
1 ตุลาคม 2566

0


         1. ประวัติความเป็นมา

         เทศบาลตำบลเกาะพะงัน ได้รับการยกฐานะมาจากสุขาภิบาลเกาะพะงันตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีอาคารที่ทำการสร้างตามแบบของเทศบาล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 และอาคารหลังที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 

2. พื้นที่

         พื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะพะงันครอบคลุมหมู่ที่ 1-3 ตำบลเกาะพะงัน และหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 24.65 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 15,806 ไร่

อาณาเขต

-  ทิศเหนือ

          จากหลักเขตที่ 1เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 อยู่ถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ฟากตะวันตกอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางคลองเหมืองชัยตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตามแนวถนนท้องศาลา – โฉลกหลำไปทางทิศเหนือ ระยะ 690 เมตร บริเวณพิกัด PL 108789 รวมระยะประมาณ 1,150 เมตร

          จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านถนนท้องศาลา – โฉลกหลำผ่านแนวเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าเกาะพะงันและป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเกาะพะงัน ถึง หลังเขตที่ 3 ซึ่งอยู่กึ่งกลางคลองท่าน้ำโฉ ตรงแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันออกระยะ 1,160 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าน้ำโฉตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตามแนวถนนท้องศาลา – โฉลกหลำไปทางทิศใต้ ระยะ 200 เมตร บริเวณพิกัด PL 120793 รวมระยะประมาณ 1,120 เมตร

          จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งอยู่ตรงแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันออก ระยะ 2,110 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าน้ำโฉตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำตามแนวถนนท้องศาลา – โฉลกหลำไปทางทิศเหนือระยะ 710 เมตร บริเวณพิกัด PL 129800 รวมระยะประมาณ 1,130 เมตร

          จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนบ้านใต้ – ท้องนายปาน ไปทิศตะวันตก ระยะ 1,130 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองธารเสด็จตัดกับถนนบ้านใต้ – ท้องนายปาน ตามแนวถนนบ้านใต้ – ท้องนายปานไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 2,770 เมตร บริเวณพิกัด PL 137796 รวมระยะประมาณ 860 เมตร

- ทิศตะวันออก

          จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านแนวเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เกาะพะงันและป่าสงวนแห่งชาติ เกาะพะงัน ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งอยู่ในแนวเส้น ตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนบ้านในสวน – น้ำตกแพง ไปทางทิศตะวันออก 480 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่คลองท่าคูตัดกับถนนบ้านในสวน – น้ำตกแพง ตามถนนบ้านในสวน – น้ำตกแพงไปทางทิศใต้ ระยะ 780 เมตร บริเวณพิกัด PL 115749 รวมระยะประมาณ 5,150 เมตร

          จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนหน้าอำเภอ – บ้านเหนือ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 150 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าคูตัดกับถนนหน้าอำเภอ – บ้านเหนือ ตามแนวถนนหน้าอำเภอ – บ้านเหนือ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะ 1,950 เมตร บริเวณพิกัด PL 120739 รวมระยะประมาณ 1,260 เมตร

          จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านถนนบ้านใต้ – บ้านเหนือและคลองท่าจีน ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองท่าจีนฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าจีน ตัดกับถนนท้องศาลา – บ้านใต้ ตามแนวคลองท่าจีนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 300 เมตร บริเวณ PL 130724 รวมระยะประมาณ 1,800 เมตร

          จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบคลองท่าจีน ฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านถนนท้องศาลา – บ้านใต้ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองท่าจีน ฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่บรรจบกับริมฝั่งอ่าวไทย บริเวณพิกัด PL 127718 รวมระยะประมาณ 680 เมตร

-  ทิศใต้

          จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านอ่าวบางจารุ และแหลมสนถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ตรงปลายแหลมเกาะแตใน ด้านทิศใต้ บริเวณพิกัด PL 070727 รวมระยะประมาณ 5,710 เมตร

-  ทิศตะวันตก

          จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นเลียบแนวชายฝั่งเกาะแตใน ด้านตะวันตกไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมเกาะแตในด้านเหนือ บริเวณพิกัด PL 0700734 รวมระยะประมาณ 920 เมตร

          จากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอ่าวในวก ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลบริเวณแหลมหินนกตรงจุดที่อยู่ห่างจากคลองสาธารณะ ตามแนวริมฝั่งทะเลบริเวณแหลมหินนกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 400 เมตร บริเวณ PL 076744 รวมระยะประมาณ 1,170 เมตร

          จากหลักเขตที่ 12 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกผ่านคลองสาธารณะและถนนในวก –    วกตุ่ม ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 300 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าใหญ่ ตัดกับถนนท้องศาลา – ศรีธนู ตามแนวถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศเหนือ ระยะ 600 บริเวณพิกัด PL 088744 รวมระยะประมาณ 1,180 เมตร

          จากหลักเขตที่ 13 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – ศรีธนู ระยะ 300 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศตะวันตก ระยะ 300 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าใหญ่ตัดกีบถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศเหนือ ระยะ 1,700 เมตร บริเวณพิกัด PL 091751 รวมประมาณ 850 เมตร

          จากหลักเขตที่ 14 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนท้องศาลา – ศรีธนู ถึงหลักเขตที่ 15 ซึ่งตั้งอยู่คลองท่าใหญ่ฝั่งตะวันตกตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางท่าใหญ่ตัดกับถนนสวนป่าตามแนวคลองท่าใหญ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 60 เมตร บริเวณพิกัด PL 095750 รวมระยะประมาณ 380 เมตร

          จากหลักเขตที่ 15 เป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือ ผ่านคลองท่าใหญ่ ถนนในนา – มะเดื่อหวานถนนท่าลำเจียก ไปตามคลองท่าลำเจียงฝั่งตะวันตกผ่านถนนเขาขี้แรด และถนนรัตนโกสินทร์ศก 200 ปี ถึงหลักเขตที่ 16 ซึ่งตั้งอยู่ถนนรัตนโกสินทร์ศก 200 ปี ฟากเหนือ ตรงจุดที่ถนนรัตนโกสินทร์ศก 200 ปี บรรจบกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 640 เมตร บริเวณพิกัด PL 096767 รวมระยะประมาณ 1,710 เมตร

          จากหลักเขตที่ 16 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 17 ซึ่งตั้งอยู่บนเขาไม่ปรากฏชื่อ ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา - โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 490 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองเหมืองชัยตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตามแนวทางถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะ 770 เมตร บริเวณพิกัด PL 100777 รวมระยะประมาณ 1,000 เมตร

          จากหลักเขตที่ 17 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บรรจบกับหลักเขตที่ 1 รวมระยะประมาณ 1,560 เมตร
 

3. ลักษณะภูมิประเทศ

          ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของพื้นที่ อำเภอเกาะพะงันเป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่บนไหล่ทวีปอยู่ตอนกลางของอ่าวไทย นอกชายฝั่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 100 กิโลเมตร ระหว่างเส้นรุ้ง ( Latitude) ที่ 69 องศา – 84 องศาเหนือ และเส้นแวง (Longitude) ที่ 05 องศา – 19 องศาตะวันออก ห่างจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 770 กิโลเมตร พื้นที่เกาะพะงันกว่าครึ่งเป็นภูเขาและที่ดอนสูงมีโครงสร้างต่อเนื่อง การใช้ที่ดินโดยทั่วไปบริเวณที่ราบรอบเกาะ
 

4.ลักษณะการใช้ที่ดิน

         ลักษณะการใช้ที่ดินของเขตพื้นที่เทศบาลสามารถแบ่งได้ดังนี้

- พื้นที่พักอาศัย                     200 ไร่           - พื้นที่เกษตรกรรม        7,000 ไร่

- พื้นที่พาณิชยกรรม                200 ไร่           - พื้นที่อุตสาหกรรม       5 ไร่

- พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ            50 ไร่           - พื้นที่ตั้งสถานศึกษา      10 ไร่

- สวนสาธารณะ/นันทการ              25 ไร่           - พื้นที่ว่าง                 400 ไร่
 

5. ลักษณะภูมิอากาศ

          เกาะพะงันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน

          ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เป็นช่วงปลายลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะคลายความชุ่มชื้น ประกอบกับมีกระแสน้ำอุ่นพัดจากทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกน้อยและอุณหภูมิสูงขึ้น แต่คลื่นลมสงบ น้ำทะเลใส เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง

          ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมกราคม สำหรับช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมเป็นช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกไปจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนวันที่ฝนตกโดยเฉลี่ยถึง 20.2 วันต่อเดือน ปริมาณน้ำฝน 1,919.2 มิลลิเมตรต่อปี
 

  6. เขตการปกครองและประชากร

เขตการปกครองและประชากร    

          พื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะพะงันครอบคลุมหมู่ที่ ๑ - ๓   ตำบลเกาะพะงัน  และหมู่ที่ ๑  ตำบลบ้านใต้ มีเนื้อที่ประมาณ  ๒๔.๖๕  ตารางกิโลเมตร ( ๑๕,๘๐๖  ไร่ )   ประชากรในเขตเทศบาลสำรวจเมื่อวันที่  21 พฤศจิกายน 2565   มีจำนวนทั้งสิ้น  7,611 คน  เป็นชาย  3,779  คน  เป็นหญิง 3,832 คน  มีครัวเรือนทั้งสิ้น  5,710   ครัวเรือน   ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย  308.76  คนต่อตารางกิโลเมตร       มีประชากรแฝงประมาณ  5,500  คน   มีนักท่องเที่ยวประมาณ  1,000   คนต่อวัน  อัตราการเพิ่มของประชากร  ร้อยละ  15.75  ต่อปี

 ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลเกาะพะงัน  ( สำรวจ  ณ  วันที่  21  พฤศจิกายน 2565 )

          รายการ

              ปี 2563

             ปี 2564

          ปี 2565

ประชากรชาย

               3,706

             3,752

             3,779

ประชากรหญิง

               3,759

             3,801

             3,832

รวมประชากร

               7,465

             7,553

             7,611

จำนวนครัวเรือน

               5,471

             5,598

             5,710


7. จำนวนหมู่บ้านและชุมชน

- จำนวนหมู่บ้าน เทศบาลครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 1-3 ตำบล เกาพะงัน และหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใต้

    หมู่ที่

                  ชื่อหมู่บ้าน

           รายชื่อผู้ใหญ่บ้าน

      1

บ้านท้องศาลา ต.เกาะพะงัน

นายประพันธ์ เดี่ยววาณิชย์

      2

บ้านในสวน ต.เกาะพะงัน

นายอภินันท์ วุฒิจันทร์

      3

บ้านมะเดื่อหวาน ต.เกาะพะงัน

นายเกียงไกร ฮั่นวิริยะนนท์

      1

บ้านใต้ ต.บ้านใต้

นายจุมพต เกื้อสกุล


- จำนวนชุมชน เทศบาลได้ดำเนินการจัดตั้งชุมชนทั้งหมด จำนวน 7 ชุมชน ได้แก่

    ชุมชนที่

                          ชื่อชุมชน

                           ประธานชุมชน

1

ชุมชนบ้านท้องศาลา

 อยู่ในระหว่างการคัดเลือก

2

ชุมชนบ้านในวก – สวนวัด

 อยู่ในระหว่างการคัดเลือก

3

ชุมชนบ้านดอนทราย

 อยู่ในระหว่างการคัดเลือก

4

ชุมชนบ้านในสวน

 อยู่ในระหว่างการคัดเลือก

5

ชุมชนบ้านหินสองก้อน

 อยู่ในระหว่างการคัดเลือก

6

ชุมชนบ้านหน้าทับ

 อยู่ในระหว่างการคัดเลือก

7

ชุมชนบ้านมะเดื่อหวาน

 อยู่ในระหว่างการคัดเลือก

          ชุมชนย่อยเทศบาลมีระบบหอกระจายข่าวครบทุกชุมชน ได้ตั้งเงินงบประมาณประจำปีอุดหนุนการบริหารงานชุมชนตลอดมา และเทศบาลมีการจัดโครงการแข่งขันกีฬาชุมชนสัมพันธ์ทุกปี

คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

1

นายอภิชาติ ลิ้มสุวรรณ

นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

2

นายศุภชัย ศรีทองกุล

รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

3

นายตรีวิทย์ จงจิตต์

รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

เลขานุการ/ที่ปรึกษาของผู้บริหาร

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

1

นายสิริชัย ฟ้าสิริพร

เลขานุการนายกเทศมนตรีฯ

2

นายสรเดช ธนวนิชนาม

ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีฯ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

1

นายพงศ์จิตร จิตต์จร

ประธานสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

2

นายอนุรักษ์ พิริยสถิต

รองประธานสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

3

นายอดิศักดิ์ ฐิตวัฒนกุล

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

4

นายโรจน์ศักดิ์ ฟ้าสิริพร

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

5

นายพีระศิลป์ เกื้อสกุล

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

6

นายเฉลิมศักดิ์ ผ่องศรี

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

7

นายวิทยา รังสิวรานนต์

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

8

นายกิตติ บัวสมุย

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

9

นายวีระพงศ์ คำจันทร์

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

10

นายไพรัช พรหมเจริญ

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

11

นายณฤทธิ์ สมพลเดช

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

12

นายนพดล โชติช่วง

สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

 

๗.โครงสร้างด้านการเมือง – การบริการ
1 ตุลาคม 2566

0


                   หน่วยงานราชการต่างๆ   ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเกาะพะงัน   ได้แก่  ที่ว่าการอำเภอเกาะ    พะงัน   สถานีตำรวจภูธรอำเภอเกาะพะงัน   โรงพยาบาลอำเภอเกาะพะงัน    เทศบาลตำบลเพชรพะงัน    เทศบาลตำบลบ้านใต้   เทศบาลตำบลเกาะเต่า  รวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ  และภาคเอกชน   ซึ่งมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด  ช่วยเหลือในการปฏิบัติงานเพื่อที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า

๒.โครงสร้างพื้นฐาน
30 พฤศจิกายน 542

0


ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม

1) ระบบการขนส่งระหว่างเกาะพะงันกับเกาะสมุย เกาะเต่า และแผ่นดินใหญ่

- เกาะพะงัน - สุราษฎร์ธานี ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

- เกาะพะงัน – เกาะสมุย ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

- เกาะพะงัน – เกาะเต่า ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

          ท่าเทียบเรือโดยสารมี 1 แห่ง เป็นท่าเทียบเรือของรัฐ 1 แห่ง ท่าเทียบเรือประมงในเขตเทศบาลมี 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเทียบเรือหัวเทียน มีรถประจำทางสายเกาะพะงัน – กรุงเทพฯ (VIP) บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างเกาะพะงัน – กรุงเทพฯ โดยตรง

2) ระบบขนส่งภายในเกาะพะงัน มีรถสองแถวเล็กรับจ้างวิ่งบริการรับส่งผู้โดยสาร ถนนสายหลัก ได้แก่

2.1.  ถนนสายท้องศาลา – ศรีธนู – โฉลกหลำ

2.2.  ถนนสานท้องศาลา – โฉลกหลำ

2.3.  ถนนสายท้องศาลา – บ้านใต้ – บ้านค่าย – หาดริ้น                                                            

การคมนาคมภายในหมู่บ้าน

2.  ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 

ถนนสายหลักสู่เขตเทศบาลบาลอื่น 3 สาย คือ

- ถนนท้องศาลา-โฉลกหลำ

- ถนนท้องศาลา-บ้านใต้

- ถนนท้องศาลา-ศรีธนู  และถนน ภายในหมู่บ้าน

-  หมู่ที่  1  เกาะพะงัน                                จำนวน  18  สาย

-  หมู่ที่  2  เกาะพะงัน                                จำนวน  15  สาย

-  หมู่ที่  3  เกาะพะงัน                                จำนวน  3  สาย

-  หมู่ที่  1  บ้านใต้                                    จำนวน  9  สาย

        

การโทรคมนาคม

1. ในเขตเทศบาลมีโทรศัพท์สาธารณะให้บริการ ดังนี้

 - บริษัท TT&T                                    จำนวน 18 จุด 18 หมายเลข

- องค์การโทรศัพท์ (TOT)                    จำนวน 39 จุด 42 หมายเลข

              2. ในเขตเทศบาลมีระบบเสียงตามสาย/หอกระจายข่าว

              3. เทศบาลมีข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง นามเรียก “โลมา” คลื่นความถี่ 162.550 MHz  โดยอยู่ในความรับผิดชอบของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนัหปลัดเทศบาล

              4. สถานที่บริการอินเตอร์เน็ต      จำนวน 50 แห่ง

              5. ที่ทำการไปรษณีย์                จำนวน  1  แห่ง

              6. สถานีวิทยุกระจายเสียง          จำนวน  1  แห่ง

(พะงันเรดิโอ ระบบ FM คลื่นความถี่ 88.80 MHz)

การมีไฟฟ้าใช้

                   ระบบการไฟฟ้าของอำเภอเกาะพะงัน อยู่ในเขตบริการไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกาะ สมุย ถนนในเขตเทศบาลที่ไฟฟ้าสาธารณะ ได้แก่ สายท้องศาลา – บ้านใต้, สายท้องศาลา – โฉลกหลำ ประชาชนในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน

การประปา

     ระบบการประปาของอำเภอเกาะพะงัน  อยู่ในเขตบริการประปาของการประปาส่วนภูมิภาคเกาะสมุย  แหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปา  ได้แก่  คลองเขานบ  สระขุมเหมือง  ประชาชนในเขตเทศบา มีน้ำประปาที่สะอาดใช้อุปโภคทุกครัวเรือนอย่างเพียงพอ    

                   เขตเทศบาลตำบลเกาะพะงัน  มีอาคารพาณิชย์  160  แห่ง ร้านค้า  ๒8๐ แห่ง  โรงแรม 3  แห่ง   รีสอร์ท  120  แห่ง   ตลาดสด  ๓  แห่ง ( เอกชน  3  แห่ง ) ปั๊มน้ำมัน  5  แห่ง   ปั๊มหลอด  ๘  แห่ง  ร้านขายยา  10  แห่ง คลินิกเอกชน  ๓  แห่ง   สถานีอนามัย  5  แห่ง   ธนาคารพาณิชย์  ๙  แห่ง ได้แก่  (ธนาคารกรุงไทยจำกัด , ธนาคารกรุงเทพจำกัด , ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารออมสิน , ธนาคารธนชาติ , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารกสิกรไทย  และธนาคาร ธ.ก.ส.)  สวนสาธารณะ  ๑  แห่ง             

                   สถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเกาะพะงัน  ได้แก่  หาดท้องศาลา  หาดริ้น หาดยาว หาดท้อง-นายปาน หาดขวด อ่าววกตุ่ม  อ่าวศรีธนู  อ่าวโฉลกหลำ  วัดภูเขาน้อย  วัดเขาถ้ำ   น้ำตกธารประพาส   น้ำตก-ธารเสด็จ ภูเขาหรา เกาะแตใน เกาะแตนอก เกาะม้า

๓.โครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ
30 พฤศจิกายน 542

0


          โครงสร้างทางเศรษฐกิจของอำเภอเกาะพะงัน  ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและการผลิตสาขาเกษตรกรรมเป็นหลัก  การพาณิชยกรรม  และบริการประเภทกิจการค้า  ส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว  ได้แก่  การบริการที่พัก ร้านอาหาร  ธุรกิจนำเที่ยว  การขายของที่ระลึก  การรับจ้างและแรงงาน  ในธุรกิจดังกล่าว

          พื้นที่การเกษตรแบ่งเป็นสวนผลไม้ประมาณ  ๕๐๐ ไร่  และสวนมะพร้าวประมาณ  ๑๓,๔๐๐ ไร่  ซึ่งผลไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่   ทุเรียน  เงาะ  ลองกอง 

          การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กใช้แรงงานในครอบครัว  เช่น  โรงงานผลิตน้ำแข็ง   โรงงานผลิตน้ำดื่ม

๔.โครงสร้างด้านสังคม
30 พฤศจิกายน 542

0


          ๔.1  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                   (๑)  รถยนต์ดับเพลิงชนิดมีถังน้ำในตัว    จุน้ำได้   ๖,๐๐๐  ลิตร       ซื้อเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๓๕

                   (๒) รถยนต์บรรทุกน้ำอเนกประสงค์      จุน้ำได้  ๖,๐๐๐   ลิตร       ซื้อเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๖

                   (๓) รถยนต์บรรทุกน้ำอเนกประสงค์      จุน้ำได้  ๑๐,๐๐๐ ลิตร        ซื้อเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๘

                   (๔) รถกระเช้าไฟฟ้า  จำนวน   ๑   คัน   ซื้อเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๘

                   (๕) รถดูดฝุ่นถนน     จำนวน   ๑   คัน    ซื้อเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๘

                   (๖)  รถแทรกเตอร์ตัดหญ้าไหล่ทาง   จำนวน   ๑   คัน   ซื้อเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๖ 

                   (๗) รถตักหน้าขุดหลัง  JCB   จำนวน  ๑  คัน    ซื้อเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๖

                   (๘) รถดูดสิ่งปฏิกูล  จำนวน  ๒  คัน   ซื้อเมื่อ  พ.ศ.๒๕๔๘ และ พ.ศ. ๒๕๔๙

                   (9) เรือเร็วกู้ชีพกู้ภัย 1 ลำ  รับมอบจาก ปภ.จังหวัด 2557

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ได้มีการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกปี

          ๔.2  สถานศึกษา   มีสถานศึกษาในเขตเทศบาล  ระดับมัธยมศึกษา  จำนวน  ๑ แห่ง   ได้แก่โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา  เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่  ๑ – ๖   ระดับประถมศึกษา  จำนวน  ๓  แห่ง   ได้แก่โรงเรียนวัดราษฎร์เจริญ  เปิดสอนระดับประถมศึกษาปีที่  ๑ - ๖   โรงเรียนบ้านมะเดื่อหวานเปิดสอนระดับประถมศึกษาปีที่  ๑-๖ และโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงันเปิดสอนระดับอนุบาล (ชั้นอนุบาล ๑-๒)       และระดับประถมศึกษาชั้นปีที่  ๑  ถึงชั้นปีที่ ๖ คน มีพนักงานครูเทศบาล 12  คน บุคลากรสนับสนุนการสอน1    อัตรา  และเทศบาลมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งรับถ่ายโอนภารกิจจากกรมการพัฒนาชุมชน  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.๒๕๔๕  จัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเด็กก่อนวัยเรียน ( อายุ  ๓- ๔ ปี )  ๒ ระดับ  ได้แก่ระดับเตรียมอนุบาล ๑  จำนวน  2  ห้องเรียน  ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ๒  จำนวน  ๓  ห้องเรียน  มีผู้ดูแลเด็กทั้งหมด  10   คน  และในเขตเทศบาลมีห้องสมุดประชาชน  จำนวน  ๑  แห่ง

          ๔.3  ศาสนา  ในเขตเทศบาลตำบลเกาะพะงัน  ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีวัด  จำนวน  ๒  แห่ง   คือวัดราษฎร์เจริญ และวัดมธุรวราราม  จำนวนประชาชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ  ๙๐  ศาสนาคริสต์ร้อยละ ๘  ศาสนาอิสลาม  ร้อยละ  ๒

          ๔.4  วัฒนธรรม  ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ  ได้แก่ประเพณีสงกรานต์  กิจกรรมซึ่งได้จัดได้แก่  การทำพิธีรดน้ำดำหัว   การจัดกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ   ประเพณีชักพระทางทะเล   ประเพณีงานเดือนสิบ

          ๔.5  การสังคมสงเคราะห์    เทศบาลขอรับเบี้ยยังชีพคนชราแยกตามงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจ  545  คน  เบี้ยยังชีพคนพิการตามงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจ64 คน  เทศบาลตั้งงบประมาณเพื่อผู้ป่วยเอดส์ 7 ราย

          ๔.6  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน    การรักษาความสงบเรียบร้อย  ได้รับความร่วมมือจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอเกาะพะงัน  ในด้านงานจราจร  งานป้องกันและปราบปราม  งานสืบสวน  งานสอบสวน  งานมวลชนสัมพันธ์  และเทศบาลได้เตรียมความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมือเครื่องใช้  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  งานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง ( เทศกิจ , อปพร. )  โดยจัดเวรยามและเวรวิทยุสื่อสารปฏิบัติหน้าที่ตลอด  ๒๔  ชั่วโมง  มีหมายเลขโทรศัพท์สายด่วนแจ้งภัย  หมายเลข  ๑๙๙

๕.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
30 พฤศจิกายน 542

0


          เทศบาลตำบลเกาะพะงันได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ   ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์  ถึงเดือน  เมษายน  มีปริมาณฝนตกเล็กน้อย  ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน มกราคม  ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย  จะมีฝนตกมาก  ปริมาณน้ำฝนวัดได้  ๑,๙๑๙.๒๐  มิลลิเมตรต่อปี

๕.๑  แหล่งน้ำ

แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่   คลองบางจารุ  คลองท่าคู  คลองวังหิน  คลองเขานบ  คลองเหมืองชัย

๕.๒  ขยะ

                   (๑)  ปริมาณขยะ   ๑๐ - ๑๕  ตัน/วัน

                   (๒) รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ  รวม  ๓  คัน  แบบอัดท้ายขนาดบรรจุ  ๑๐  ตัน  จำนวน  ๒  คัน    และแบบเปิดข้างเทท้ายขนาดบรรจุ  ๓  ตัน 

                   (๓)  กำจัดขยะโดยวิธี ฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะและเผาด้วยความร้อนสูง

                   (๔)  ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่กำลังใช้  จำนวน  ๕ ไร่   ตั้งอยู่ที่  ถนนท้องศาลา – ศรีธนู  หมู่ที่ ๔ ตำบลเกาะพะงัน

๖.ด้านการคลังท้องถิ่น
30 พฤศจิกายน 542

0


   สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในระยะที่ผ่านมา

-         การบริหารรายรับในปีงบประมาณที่ผ่านมา   เปรียบเทียบย้อนหลัง  ๓  ปี

-         การบริหารรายจ่ายในปีงบประมาณที่ผ่านมา  เปรียบเทียบย้อนหลัง  ๓  ปี

เทศบาลมีรายรับ  ( ๒๕๕๒ – ๒๕๕7 )    ดังนี้

รายรับปีงบประมาณ  ๒๕๕7  เป็นเงินงบประมาณ   96,436,160.03       บาท (ณ.วันที่30 ก.ย.57)

รายรับปีงบประมาณ  ๒๕๕6  เป็นเงินงบประมาณ   60,870,190.87          บาท

รายรับปีงบประมาณ  ๒๕๕5  เป็นเงินงบประมาณ     69,893,794.73         บาท

รายรับปีงบประมาณ  ๒๕๕๔  เป็นเงินงบประมาณ     ๔๑,๔๗๕,๐๐๕.๑         บาท

รายรับปีงบประมาณ  ๒๕๕3  เป็นเงินงบประมาณ     ๖๗,๓๓๗,๐๐๐.๐๐       บาท

รายรับปีงบประมาณ  ๒๕๕2  เป็นเงินงบประมาณ     ๖๐,๐๕๐,๐๐๐.๐๐       บาท

เทศบาลมีรายจ่าย  ( ๒๕๕๒ – ๒๕๕7  )   ดังนี้

รายรับปีงบประมาณ   ๒๕๕7   เป็นเงินงบประมาณ    82,318,502.93     บาท (ณ.วันที่30 ก.ย.57)

รายจ่ายปีงบประมาณ  ๒๕๕6   เป็นเงินงบประมาณ   37,736,697.02         บาท

รายจ่ายปีงบประมาณ  ๒๕๕5   เป็นเงินงบประมาณ   47,914,539.44         บาท

รายจ่ายปีงบประมาณ  ๒๕๕๔   เป็นเงินงบประมาณ   ๖๕,๑๙๕,๒๗๘.๘๔      บาท

รายจ่ายปีงบประมาณ  ๒๕๕3   เป็นเงินงบประมาณ   56,910,515.93         บาท

รายจ่ายปีงบประมาณ  ๒๕๕2   เป็นเงินงบประมาณ   57,452,353.23         บาท

ปีงบประมาณ 2557 คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลตำบลเกาะพะงันได้ติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาในปีงบประมาณ 2557 ได้สรุปผลการดำเนินการดังนี้

          เทศบาลตำบลเกาะพะงัน  ได้ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน  ซึ่งชุมชนมีความต้องการที่จะได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคที่มีมาตรฐาน  เพื่อให้คุณภาพชีวิตใกล้เคียงมาตรฐานของชุมชนเมือง  สำหรับปัญหาด้านคมนาคมสัญจรไปมาระหว่างชุมชน เทศบาลได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง    ปัจจุบันถนนสายต่าง ๆ  สามารถใช้ได้ตลอดฤดูกาล ไม่มีปัญหาฝุ่นละอองฟุ้งกระจายสร้างปัญหาให้กับบ้านเรือนและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมถนน  ปรับปรุงระบบการจัดเก็บขยะมูลฝอย  ก่อสร้างโรงคัดแยกขยะ      การบำบัดน้ำเสีย  ซึ่งเป็นตัวชี้วัดระดับการพัฒนาได้ระดับหนึ่งในความเป็นอยู่ของชุมชน สำหรับปัญหาด้านเศรษฐกิจ เทศบาลได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้ฝึกฝนเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ  ตามความต้องการของชุมชนและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอาชีพเพื่อฝึกฝนการทำงานให้มีความชำนาญ  ด้านสังคมเทศบาลได้จัดตั้งโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน  ในปีการศึกษา ๒๕๔๙  จัดการศึกษาเด็กอนุบาลและระดับประถมศึกษา  รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้กับโรงเรียนต่าง ๆ  ภายในเขตเทศบาล  ที่อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามกระบวนการปฏิรูปการศึกษา  ด้านสาธารณสุขเทศบาลได้จัดหน่วยเทศบาลเคลื่อนที่เพื่อบริการประชาชนในชุมชนด้านต่าง ๆ  โดยเฉพาะบริการตรวจสุขภาพประชาชนเบื้องต้น  และสนองนโยบายของรัฐบาลในการรักษาสุขภาพ  โดยจัดเวทีออกกำลังกาย   ออกบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัข แมว พร้อมกับทำหมัน  ฉีดหมอกควัน

           

๘.ภูมิปัญญา เพลงพื้นบ้าน
30 พฤศจิกายน 542

0


1.เพลงกล่อมเด็กพื้นบ้าน

 

2.ฉันทลักษณ์ การแต่งเพลงชักพระเกาะพะงัน และตัวอย่าง

เนื้อหา “เพลงชักพระเกาะพะงัน เป็นร้อยกรองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น นิยมว่าเพลงในขณะที่ลงเรือเข้าสายลากพระในทะเล โดนร้องโต้ตอบกัน เพื่อความสนุกสนาน หรือใช้เกี่ยวพาราสี กัน ระหว่างหนุ่มสาว”